ประชุมวิชาการนานาชาติ H.E.A.T. International Congress on Anti-aging Medicine

ประชุมวิชาการนานาชาติ H.E.A.T.

ประชุมวิชาการนานาชาติ H.E.A.T. International Congress on Anti-aging Medicine ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 12-14 กันยายน 2562 ณ ชั้น 23 โรงแรม Centara Grand and Bangkok Convention Centre at CentralWorld

โรคที่ทุกคนมองข้ามและละเลย บางคนไม่ทราบด้วยซ้ำ ว่าโรคนี้เป็นโรคร้ายแรงติดอันดับหนึ่งในสิบที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด นั้นคือ “ โรคกระดูกพรุน”

ดร.เทพินทร์ พยัคฆชาติ

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เรามักมองข้ามเพราะโรคนี้ส่งผลกระทบต่อร่างกายเราอย่างช้าๆไม่เกิดอาการอย่างโจ่งแจ้ง เป็นภัยเงียบที่ค่อยๆลุกลาม ถ้าหากใครไม่ใส่ใจสุขภาพร่างกายอย่างละเอียดจริงจะไม่สามมารถทราบได้เลยว่าเป็นโรคนี้อยู่ ยิ่งในปัจจุบันการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ นั่งจ้องหน้าคอมเป็นเวลานานๆ ยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากขึ้น ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย โดยมักจะพบในวัยผู้สูงอายุ

โรคกระดูกพรุน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า  ( ออส-ที-โอ-พอ-รอ-สิส) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของกระดูกที่เกิดเนื่องจากมีความไม่สมดุลในกระบวนการผลัดผิวกระดูก โดยเซลล์สลายกระดูกทำงานมากกว่าเซลล์สร้างกระดูก ทำให้มวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลง เนื้อกระดูกบางลง มีความแข็งแรงน้อยลง และมีความเปราะบางเพิ่มมากขึ้น โรคนี้เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในผู้สูงอายุ เนื่องจากไม่มีอาการใดๆ ทั้งนี้ กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ก็ต่อเมื่อเกิดการกระดูกหัก ซึ่งมักเกิดตามหลังอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม ตกบันได ตกจากเก้าอี้ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่มีการไออย่างรุนแรงก็อาจทำให้กระดูกซี่โครงหักได้

drbopls-h.e.a.t.

ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกหักเนื่องจากมวลกระดูกของเรามีความหนาแน่นน้อยลง การเดินลื่นหกล้มแม้จะยั้งตัวได้โดยหัวไม่ฟาดพื้นก็อาจเกิดกระดูกข้อมือหักจากการใช้มือยันตัวไว้ 

ตำแหน่งของกระดูกที่หักส่วนใหญ่จะเป็นที่กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก และ กระดูกสันหลัง อธิบายได้ว่า เมื่อหกล้ม คนเราก็จะเอามือยันพื้นไว้เพื่อประคองตัวเอง แต่ด้วยความที่เนื้อกระดูกบางลง กระดูกข้อมือจึงไม่สามารถรับน้ำหนักตัวได้เต็มที่เหมือนตอนหนุ่มสาว กระดูกข้อมือจึงหัก เมื่อกระดูกข้อมือหักก็ใช้มือข้างนั้นหยิบจับอะไรไม่ได้ในระหว่างที่ต้องเข้าเฝือก หากมีก้นกระแทกพื้นเช่นในกรณีตกบันไดหรือตกจากเก้าอี้ ทำให้เดินไม่ได้ในระหว่างการรักษา บางรายอาจต้องเปลี่ยนข้อมือเพื่อใส่ข้อมือเทียมแทน ทำให้ต้องนอนติดเตียง ซึ่งอาจเกิดแผลกดทับหรือโรคอื่นๆ ตามมาได้หากไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked*