นวัตกรรม เกล็ดปลายี่สกไทย

drboplus-journal-yisok

“ปลายี่สก” ของประเทศไทย ถือเป็นปลาน้ำจืด ที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศไทย โดยมีนักวิจัยได้พัฒนา และพบคุณสมบัติพิเศษ ของเกล็ดปลายี่สก ในการดูแลรักษากระดูก ถือเป็นนวัตกรรมที่ยังไม่มีมาก่อนในโลก
“คุณ อภิรักษ์ ชีวเสถียรพร” ประธานบริษัท อินต้า เฮ็ลธี แคร์ ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ มานานกว่า 30 ปี และสินค้าหลายชนิดจากประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า จากความสนใจสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกล็ดปลายี่สกของไทย ประกอบกับได้รับการติดต่อจากเพื่อนชาวญี่ปุ่นเมื่อ 7-8 ปีก่อน จึงร่วมกันวิจัยเกล็ดปลายี่สก ซึ่งพบว่า “เกล็ดปลายี่สก” มีคุณสมบัติ ที่ให้สารแคลเซียมที่เหมาะกับกระดูกมนุษย์
การต่อยอดผลงานวิจัย ได้ให้นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น ร่วมทำการวิจัย จึงได้มาซึ่งสารสกัดจากเกล็ดปลายี่สก เรียกว่า “โปรเททไทด์” (Protetite) เป็นนวัตกรรมผลึกสารผสมขนาดนาโน ที่ยึดติดกันเป็นเนื้อเดียวกันของแคลเซียม ฟอสเฟต โดยเป็นนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นรายแรกของโลก มีหน้าที่สำคัญเป็นโครงร่างพื้นฐานให้เซลล์อ่อนของกระดูกมายึดเกาะ ส่งผลให้การสร้างกระดูกมีประสิทธิภาพดีขึ้น

drboplus-journal-yisok-2

“การเลือกเกล็ดปลายี่สกของประเทศไทยมาทำการวิจัย และพัฒนา เนื่องจากปลาชนิดนี้ มีสารอาหารดีที่สุด จากผลการวิจัยจากหมื่นสายพันธุ์ โดยทีมวิจัยจากประเทศญี่ปุ่น พบว่า คอลาเจน จากเกล็ดปลายี่สก สามารถสกัดออกมาเป็นสารอาหารธรรมชาติในกลุ่ม คอลลาเจน ไทป์วัน ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ตามกระดูก ผิวหนัง ฟัน และเล็บ ในร่างกายมนุษย์ประมาณ 90 %”
ขณะเดียวกัน “โปรเททไทด์” ถือเป็นสารอาหารที่ดูดซึมเข้าร่างกายได้อย่างรวดเร็ว หรือเป็นสารออร์แกนิค ทำให้กระดูกแข็งแรง ยืดหยุ่นได้ดี และได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

มั่นใจว่างานวิจัยนี้จะเป็นอีกทางหนึ่ง ในการช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหากระดูกบาง ช่วยดูแลเรื่องกระดูกให้กับสังคม

คุณ อภิรักษ์ ชีวเสถียรพร

ทั้งนี้ คุณอภิรักษ์ ได้ร่วมมือกับ “Yoshiaki Okada” ประธานบริษัท RBS บริษัทเอกชนญี่ปุ่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออกมาสู่ตลาด ซึ่งใช้ชื่อแบรนด์ว่า ดร.โบพลัส (Dr.BOPLUS) ในเบื้องต้นได้ผลิตสินค้าในประเทศญี่ปุ่น แต่แผนในระยะยาวจะสร้างโรงงานผลิตในประเทศไทย
ปัญหาโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะคนสูงวัยเท่านั้น เพราะความหนาแน่นของกระดูกคนเราจะสูงสุดในช่วงอายุ 20 ปี และจะเริ่มสูญเสียมวลกระดูกไปเรื่อยๆ วึ่งจากสถิติพบว่าผู้หญิงทั่วโลก ในช่วงอายุ 20-35 ปี เป็นโรคกระดูกบาง มากถึง 16% อีกทั้งกระดูกมีความสำคัญมากต่อร่างกาย หากกระดูกเสื่อม จะส่งผลให้อวัยวะต่างๆในร่างกายทำงานผิดปกติ และเกิดความเจ็บป่วยได้

“คุณ อภิรักษ์” กล่าวต่อว่า มั่นใจว่างานวิจัยนี้จะเป็นอีกทางหนึ่ง ในการช่วยเหลือสังคม โดยมีแนวคิดจัดตั้งมูลนิธิช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหากระดูกบาง ช่วยดูแลเรื่องกระดูกให้กับสังคม และต้องการให้คนไทยหันมาใส่ใจดูแลกระดูกมากขึ้น รวมถึงเชื่อมั่นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุในประเทศไทยอย่างมาก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked*